กรมการทหารสื่อสาร รับสมัครบุคคลพลเรือนชายหรือทหาร กองหนุน คุณวุฒิวิชาชีพเฉพาะ (เหล่าทหารสื่อสาร) 30 อัตรา 23-31 มีนาคม 2560



ระเบียบการ 

สอบคัดเลือกบุคคลพลเรือนชายหรือทหารกองหนุน คุณวุฒิวิชาชีพเฉพาะ เข้ารับราชการ เป็นนายทหารประทวน (อัตรา สิบเอก) ในหน่วยที่ขาดแคลนก าลังพลประเภทช่างซ่อมบำรุง (เหล่าทหารสื่อสาร) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐




คำนำ 
กรมการทหารสื่อสาร มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลพลเรือนชายหรือทหาร กองหนุน คุณวุฒิวิชาชีพเฉพาะ (เหล่าทหารสื่อสาร) เพื่อสอบคัดเลือกและบรรจุเข้ารับราชการเป็น นายทหารประทวน (อัตรา สิบเอก) จ านวน ๓๐ นาย โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ และเข้ารับการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นของเหล่าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ เดือน เมื่อ ส าเร็จการศึกษา จะปรับย้ายไปรับราชการในหน่วยต่าง ๆ ของหน่วยที่ขาดแคลนก าลังพล ในการซ่อม บ ารุงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (เหล่าทหารสื่อสาร) ของหน่วยในกองทัพบกต่อไป เพื่อให้ผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกได้ทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ ในการสอบครั้งนี้ กรมการทหารสื่อสาร จึงได้จัดท าระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลพลเรือนชายหรือ ทหารกองหนุนเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวน (อัตรา สิบเอก) ของหน่วยที่ขาดแคลน ก าลังพล ในการซ่อมบ ารุงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (เหล่าทหารสื่อสาร) ประจ าปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ขึ้นมา เพื่อจะช่วยอ านวยความสะดวกในการเตรียมการสอบ รวมทั้งเป็นการแจ้งเตือนผู้สมัครสอบ มิให้ไปหลงเชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่แอบอ้างว่าจะช่วยเหลือในการสอบได้ และหากผู้สมัครสอบ ได้พบเห็นพฤติกรรมใด ๆ ที่ส่อไปในทางทุจริตหรือประสงค์จะให้ข้อมูลใดที่เป็นประโยชน์ในการ ด าเนินงาน โปรดแจ้งไปที่ กรมการทหารสื่อสาร เลขที่ ๑๔๙ ถนนพระราม ๕ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ หมายเลขโทรศัพท์๐-๒๒๙๗-๕๔๙๐ และ ๐-๒๒๙๗-๖๑๐๒ 
  กรมการทหารสื่อสาร




ระเบียบการ
 สอบคัดเลือกบุคคลพลเรือนชายหรือทหารกองหนุน เพื่อบรรจุเข้ารับราชการ เป็นนายทหารประทวน (อัตรา สิบเอก) ของหน่วยที่ขาดแคลนกำลังพลประเภทช่างซ่อมบ ารุง (เหล่าทหารสื่อสาร)
 ---------------------------------  

ขอให้ผู้สมัครสอบอ่านระเบียบการให้เข้าใจ แล้วปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติ ตามลำดับ ข้อให้ครบถ้วน เพื่อเป็นประโยชนต่อท่านในการเตรียมการสอบ ดังนี้ 

ข้อ ๑. ความมุ่งหมาย กองทัพบก มีความประสงค์จะรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลพลเรือนชายหรือทหารกองหนุน คุณวุฒิวิชาชีพเฉพาะ (เหล่าทหารสื่อสาร) เพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวน (อัตรา สิบเอก) จ านวน ๓๐ นาย บรรจุเข้ารับราชการในต าแหน่ง ประจ า กรมการทหารสื่อสาร ตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ และเข้ารับการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นของเหล่า เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ เดือน เมื่อส าเร็จการศึกษา จะปรับย้ายไปรับราชการในหน่วยต่าง ๆ ของหน่วยที่ขาดแคลนก าลังพล ในการซ่อมบ ารุงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ อัตราเหล่าทหารสื่อสาร โดยมอบหมายให้ กรมการทหาร สื่อสาร เป็นผู้ด าเนินการ 

ข้อ ๒. คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ๒.๑ มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปี และไม่เกิน ๒๕ ปี โดยนับอายุจากปี พ.ศ. เกิด (การคิดอายุ พ.ศ. ปัจจุบัน ลบด้วย พ.ศ.เกิด) 
๒.๒ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจ าการแล้วผลการตรวจเลือก จะต้องระบุเป็นคน จ าพวกที่ ๑ เท่านั้น (งดรับสมัครผู้ที่มีผลการตรวจเลือกระบุว่า “ไม่ได้ขนาด” และ เป็นคนจ าพวกที่ ๒, ๓ และ ๔)
 ๒.๓ ผู้ที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์เข้ารับการตรวจเลือก ต้องมีร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่จัดอยู่ในคนจ าพวก ที่ ๒ ตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และต้องมีความสูง ตั้งแต่ ๑๖๐ เซนติเมตร และขนาดรอบอก ๗๕/๗๘ เซนติเมตร ตามขนาดที่คณะกรรมการตรวจวัดขนาดร่างกายของ กรมการ ทหารสื่อสาร วัดได้ 
๒.๔ งดรับบรรจุบุคคลพลเรือนชายที่เกิด พ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๔๐ ซึ่งจะต้องเข้ารับการตรวจ เลือกทหารกองประจ าการ ตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗
 ๒.๕ ส าเร็จการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ เฉพาะสาขาวิชา ช่างไฟฟ้า, ช่างไฟฟ้าก าลัง, ช่างอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จากสถานศึกษาที่ส านักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) , ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือส านักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ให้การรับรอง (ไม่รับสมัครผู้ที่รอผลการศึกษา)
๒.๖ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคที่ขัดต่อการรับราชการ มีอวัยวะ รูปร่างลักษณะท่าทาง และขนาดร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหาร และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติรับราชการ ทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
 ๒.๗ เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ในการขอแต่งตั้งยศเป็นนายทหารประทวน ตามข้อบังคับ กระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งยศทหาร พ.ศ.๒๕๐๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
 ๒.๘ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็น นายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่ผู้มีสัญชาติ ไทยโดยการเกิดก็ได้ 
๒.๙ เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 ๒.๑๐ ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือ มีโรคอันพึงรังเกียจ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการได้ ตามที่ก าหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗
 ๒.๑๑ ไม่มีรอยสักนอกร่มผ้า เมื่อใส่ชุดปฏิบัติงานเป็นข้าราชการ 
๒.๑๒ ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามค าพิพากษา 
๒.๑๓ ไม่อยู่ในสมณเพศ 
๒.๑๔ ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษจ าคุกตามค าพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้นแต่ความผิดฐาน ประมาทหรือลหุโทษ และไม่อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา
 ๒.๑๕ ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ หรือมีประวัติคดีอาญา ข้อหาเกี่ยวกับ ยาเสพติด 
๒.๑๖ ไม่เคยเป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ 
๒.๑๗ ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม
 ๒.๑๘ ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบหรือการสอบคัดเลือกเข้าเป็นข้าราชการทหารมาก่อน 

ข้อ ๓. ข้อกำหนด 
๓.๑ เมื่อผ่านการสอบคัดเลือกแล้ว จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ เป็นนายทหารประทวน ต าแหน่ง ประจ า กรมการทหารสื่อสาร ตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ โดยได้รับยศ สิบตรี ซึ่งจะ ได้รับเงินเดือนรวมค่าครองชีพชั่วคราวเป็นเงินไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐.- บาท/เดือน และได้รับเครื่อง แต่งกายตามที่กองทัพบกก าหนด 
๓.๒ เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งยศ ตามข้อ ๓.๑ แล้ว จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร ระยะสั้นของเหล่า เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ เดือน หลังจากส าเร็จการฝึกอบรมแล้ว จะได้รับการ ปรับย้ายไปรับราชการในหน่วยต่าง ๆ ของหน่วยที่ขาดแคลนก าลังพลประเภทช่างซ่อมบ ารุง ตามผลการ ฝึกอบรม กรณีไม่ส าเร็จการฝึกอบรม กองทัพบกจะด าเนินการตามมาตรการทางการปกครอง ทางวินัย หรืออาจจะด าเนินการ ให้ออกจากราชการก็ได้
 ๓.๓ หากตรวจพบภายหลังว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติขัดต่อระเบียบของกองทัพบก และประกาศ รับสมัคร ให้ถือว่าการบรรจุเข้ารับราชการ เป็นโมฆะ โดยกองทัพบกมีสิทธิยกเลิกการบรรจุเข้ารับ ราชการ พร้อมกับดำเนินคดี และเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายได



ข้อ ๔. หลักฐานประกอบการรับสมัคร ให้ยื่นเอกสารประกอบการสมัครสอบฉบับจริง พร้อมถ่ายส าเนา เอกสารโดยใช้กระดาษ ขนาด เอ ๔ อย่างละ ๖ ฉบับ โดยผู้สมัครสอบเขียนค ารับรองตนเองว่า ส าเนา ถูกต้อง แล้วลงชื่อก ากับไว้ เมื่อกรรมการรับสมัครตรวจสอบเอกสารแล้ว จะส่งฉบับจริงให้กลับคืน จะเก็บไว้เป็นหลักฐานเฉพาะฉบับส าเนาเท่านั้น โดยยื่นหลักฐานด้วยตนเองดังนี้ 

๔.๑ รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตา ขนาด ๒ นิ้ว จ านวน ๖ รูป และ ขนาด ๑ นิ้ว จ านวน ๖ รูป (ถ่ายไม่เกิน ๓ เดือน) 
๔.๒ หลักฐานการศึกษา (ใบสุทธิ ระเบียนแสดงผลการศึกษา หรือใบประกาศนียบัตร ซึ่งจะต้องส าเร็จการศึกษาภายในวันที่ปิดรับสมัครเท่านั้น) 
๔.๓ ทะเบียนบ้านของผู้สมัคร บิดา และมารดา กรณีนามสกุลบิดา และมารดาไม่ตรงกัน จะต้องแนบสูติบัตรของผู้สมัครเพื่อยืนยัน หรือให้อ าเภอรับรองว่า เป็นบิดาและมารดาของผู้สมัครจริง 
๔.๔ บัตรประจ าตัวประชาชนของผู้สมัคร 
๔.๕ ผู้ที่ผ่านการเป็นทหารกองหนุนแล้ว จะต้องมีหนังสือส าคัญ สด.๘ , ประวัติทหารบก แบบพิมพ์ ทบ.๑๐๐ – ๐๗๕ และหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชา
 ๔.๖ ผู้ที่ส าเร็จการฝึกวิชาทหารปีที่ ๓ (รด.ปี ๓) จะต้องมีหนังสือส าคัญ สด.๘ , หนังสือส าคัญ ประจ าตัวแสดงวิทยฐานะจากกรมการรักษาดินแดน และหนังสือรับรองการฝึกวิชาทหารปีที่ ๓ 
๔.๗ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและไม่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจ าการ จะต้องมีส าเนา สด.๔๓ 
๔.๘ ใบส าคัญความเห็นแพทย์ทหาร (ทบ.๔๖๖-๖๒๐) ซึ่งออกโดย รพ.ของทหารเท่านั้น และหลังจากประกาศผลการคัดเลือกทุกขั้นตอนแล้ว ให้ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกที่จะด าเนินการบรรจุไป ด าเนินการตรวจโรคโดยละเอียด ซึ่งในใบความเห็นแพทย์ต้องระบุว่า “สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรค ที่ขัดต่อการรับราชการทหาร” และหากต าแหน่งบรรจุเป็นต าแหน่ง พลขับ ให้ระบุเพิ่มเติมว่า “ตาไม่ บอดสี”
 ๔.๙ หลักฐานอื่น เช่น การเปลี่ยนชื่อ – สกุล 
๔.๑๐ หลักฐานตามข้อ ๔.๒ – ๔.๙ ถ่ายส าเนาเอกสารโดยใช้กระดาษ ขนาด เอ ๔ อย่างละ ๖ ฉบับ และนำฉบับจริงมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่รับสมัครด้วย ทั้งนี้สำเนาเอกสารต่าง ๆ จะต้องชัดเจน ไม่เลือนราง หรือมีร่องรอย ขูดลบขีดฆ่า 
๔ . ๑ ๑ ร า ย ล ะ เ อี ย ด เ พิ่ ม เ ติ ม ต ร ว จ ส อ บ ท าง เ ว็ บ ไ ซ ต์ ก ร ม ก า ร ท ห า ร สื่ อ ส า ร http://signal.rta.mi.th หรือ กองก าลังพล กรมการทหารสื่อสาร http://202.44.55.31/ หมายเลข โทรศัพท์๐-๒๒๙๗-๕๔๙๐ และ ๐-๒๒๙๗-๖๑๐๒ 

ข้อ ๕. การขอรับสิทธิคะแนนเพิ่มพิเศษ ทั้งบุคคลชาย/หญิง 
๕.๑ หลักฐานแสดงว่าส าเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร ตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร “ชั้นปีที่ ๓ ถึง ชั้นปีที่ ๕” ต้องเป็นเอกสารที่ออกให้โดย “หน่วย บัญชาการรักษาดินแดน” เท่านั้น โดยเพิ่มคะแนนให้ตามชั้นสูงสุดที่ส าเร็จการฝึกวิชาทหาร ดังนี้.- 


 ๕.๑.๑ ชั้นปีที่ ๕ หรือ เทียบเท่า เพิ่ม ๕ ใน ๑๐๐ คะแนน 
 ๕.๑.๒ ชั้นปีที่ ๔ หรือ เทียบเท่า เพิ่ม ๔ ใน ๑๐๐ คะแนน 
 ๕.๑.๓ ชั้นปีที่ ๓ หรือ เทียบเท่า เพิ่ม ๓ ใน ๑๐๐ คะแนน

๕.๒ หลักฐานแสดงว่าเป็น ทหารกองหนุน ที่เคยรับราชการกองประจ าการมาก่อน เพิ่มให้ ๕ ใน ๑๐๐ คะแนน 
๕.๓ หลักฐานแสดงว่าเป็น บุตรของทหาร ข้าราชการ และลูกจ้างประจำในสังกัด กองทัพบก ซึ่งประสบอันตรายถึง ทุพพลภาพ ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือ ถูกประทุษร้าย เพราะเหตุกระทำตามหน้าที่ หรือต้อง บาดเจ็บถึงตาย เพราะเหตุนั้น ซึ่ง ได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ ได้รับเงินค่าทำขวัญ ตามระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทำขวัญข้าราชการและลูกจ้าง หรือบุตรของผู้ได้รับพระราชทานเหรียญ ดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ เพิ่มให้ ๑๐ ใน ๑๐๐ คะแนน 
๕.๔ หลักฐานแสดงว่าเป็น บุตรของทหาร ข้าราชการ และลูกจ้าง สังกัดกองทัพบก ที่ ก าลังรับราชการหรือเคยรับราชการในกองทัพบกมาก่อน เว้น ผู้ที่ถูกปลดออกจากประจำการ เนื่องจากมีความผิด หรือบกพร่องต่อหน้าที่ เพิ่มให้ ๒ ใน ๑๐๐ คะแนน
๕.๕ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจ า พนักงานราชการ สังกัด ทบ. ที่ยังปฏิบัติงานใน ทบ. และมีระยะเวลาปฏิบัติงานใน ทบ. ตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป (เว้นเป็นผู้ที่ถูกปลดเนื่องจากมีความผิด บกพร่อง) เพิ่มให้ ๕ ใน ๑๐๐ คะแนน 
๕.๖ หลักเกณฑ์การให้คะแนนเพิ่ม ผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ได้รับการเพิ่มคะแนนจาก หลักเกณฑ์ตามข้อ ๕.๑ ถึง ๕.๕ หลายข้อให้เพิ่มคะแนนให้ตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ได้รับคะแนนสูงสุด เพียงข้อเดียว ยกเว้น ผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ทั้งในข้อ ๕.๑ และ ๕.๔ รวมกัน
๕.๗ การพิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ จะด าเนินการทั้งในการสอบรอบแรกและการสอบรอบที่ สอง โดยคิดฐานคะแนนของคะแนนเต็มในแต่ละการสอบ โดยยึดถือตามอนุมัติ ผบ.ทบ. ท้ายหนังสือ ทบ. ที่ กห ๐๔๐๑/๑๙๑๖ ลง ๒๘ พ.ย.๒๘ เรื่อง หลักเกณฑ์การบรรจุเข้ารับราชการใน ทบ. และหนังสือ กพ.ทบ. ที่ กห. ๐๔๐๑/๒๖๘๙ ลง ๑๒ ก.ย.๕๕ เรื่อง ขออนุมัติแก้ไขหลักเกณฑ์การ บรรจุบุคคลเข้ารับราชการใน ทบ. 
๕.๘ สำหรับหลักฐานการขอรับสิทธิคะแนนเพิ่มพิเศษให้น ามาแสดงในวันรับสมัคร 


ข้อ ๖. กำหนดเวลาการรับสมัคร การสมัครสอบ
 ๖.๑ รับสมัคร ตั้งแต่วันที่ ๒๓ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๙๐๐ – ๑๖๐๐ (ไม่เว้น วันหยุดราชการ) สถานที่รับสมัคร กรมการทหารสื่อสาร เลขที่ ๑๔๙ ถนนพระราม ๕ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ (การสมัคร ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น) 
๖.๒ การสมัครสอบ
 ๖.๒.๑ เขียนใบสมัครสอบให้ถูกต้องและชัดเจน ตามแบบตัวอย่างที่หน่วยรับสมัครติดไว้ และหลักฐานที่น ามาใช้สมัครสอบต้องเป็นหลักฐานที่เป็นจริง ถ้าหากตรวจพบว่าเอกสารเป็นเท็จ จะต้อง ถูกด าเนินคดีตามกฎหมายจนถึงที่สุด
๖.๒.๒ ให้ตรวจสอบความถูกต้องของใบสมัครสอบกับเจ้าหน้าที่รับสมัครก่อนยื่นหลักฐาน ใบสมัครสอบ ๖.๒.๓ ยื่นหลักฐานให้กับเจ้าหน้าที่รับสมัคร เพื่อออกบัตรประจ าตัวสอบ ๖.๒.๔ ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรประจ าตัวสอบ พร้อมกับรับเอกสารประกอบการ สมัครสอบฉบับจริงคืน (กรรมการรับสมัครสอบจะเก็บเฉพาะฉบับส าเนาไว้เป็นหลักฐาน) ๖.๒.๕ เมื่อได้รับบัตรประจ าตัวสอบแล้ว ต้องจดจ าหมายเลขประจ าตัวสอบ และนำบัตร ประจำตัวสอบติดตัวตลอดในห้วงการสอบ ถ้าไม่มีบัตรประจำตัวสอบไปแสดงต่อคณะกรรมการ “จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ”
๖.๒.๖ ตรวจสอบเอกสารฉบับจริงอีกครั้ง หากยังไม่ได้รับคืนให้ติดตามสอบถามกับ กรรมการรับสมัครสอบในวันนั้น หากมีเอกสารส าคัญสูญหายไป คณะกรรมการจะไม่รับผิดชอบ
 ๖.๒.๗ กรณีท าบัตรประจ าตัวสอบหาย ให้แจ้งความที่สถานีต ารวจ จากนั้นน าหลักฐาน ใบรายงานประจ าวันรับแจ้งเอกสารหาย , ส าเนาบัตรประจ าตัวประชาชน ยื่นเรื่องที่ กองก าลังพล กรมการทหารสื่อสาร เพื่อขออนุมัติคณะกรรมการด าเนินงานออกบัตรแทน
 ๖.๒.๘ การแต่งกาย ต้องแต่งกายชุดสุภาพ (เสื้อเชิ้ตคอปก, กางเกงสแล็คขายาว, รองเท้าหุ้มส้น กรณียังไม่ปลดประจ าการแต่งกายชุดเครื่องแบบ) มิฉะนั้น จะไม่พิจารณารับสมัครสอบ หรือไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ (งดเว้น การสวมรองเท้าแตะ , เสื้อยืดคอกลม , กางเกงยีนส์) เว้นขั้นตอนการทดสอบร่างกายให้แต่งกายตามความเหมาะสม

ข้อ ๗. การสอบคัดเลือกภาควิชาการ ๗.๑ สถานที่สอบ โรงเรียนทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสาร ถนนพระราม ๕ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๗.๒ วัน เวลา ที่สอบ วันพุธที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ ๗.๒.๑ รายงานตัวเวลา ๐๗๐๐ - ๐๘๐๐ ๗.๒.๒ สอบคัดเลือกเวลา ๐๘๓๐ - ๑๖๐๐ ๗.๓ สอบภาควิชาการ วิชาทั่วไป (พื้นฐานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ) 
 ๗.๓.๑ วิชาคณิตศาสตร์
 ๗.๓.๒ วิชาภาษาอังกฤษ 
 ๗.๓.๓ วิชาภาษาไทย 
 ๗.๓.๔ วิชาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
 ๗.๓.๕ วิชาความรู้ทั่วไป 

๗.๔ การเตรียมตัวของผู้สมัครสอบ 
 ๗.๔.๑ ตรวจสอบที่นั่งสอบที่ระบุในบัตรประจ าตัวสอบ 
๗.๔.๒ แต่งกายชุดสุภาพ (เสื้อเชิ้ตคอปก, กางเกงสแล็คขายาว, รองเท้าหุ้มส้น กรณี ยังไม่ปลดประจ าการแต่งกายชุดเครื่องแบบ งดเว้น การสวมรองเท้าแตะ, เสื้อยืดคอกลม, กางเกงยีนส์)  
๗.๔.๓ ให้นำอุปกรณ์เครื่องเขียน มาใช้ท าข้อสอบด้วย

 ๗.๕ การเข้าห้องสอบ
๗.๕.๑ เวลา ๐๗๐๐ ให้พร้อมที่ โรงเรียนทหารสื่อสาร โดยเข้าแถวเรียงตามล าดับ หมายเลขประจ าตัวสอบ
 ๗.๕.๒ ห้าม นำอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอบ เช่น เครื่องคิดเลข, นาฬิกาที่เป็น เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์มือถือ, เพจเจอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารแบบพกพาทุกชนิด เข้าไปในห้องสอบ โดยเด็ดขาด ๗.๕.๓ กรรมการควบคุมการสอบจะเรียกเข้าห้องสอบตามล าดับ ให้นั่งตามผังที่นั่งสอบ และผู้สมัครสอบจะต้องเตรียม “บัตรประจ าตัวสอบ” และ “บัตรประจ าตัวประชาชน” ไว้รับตรวจด้วย
 ๗.๕.๔ เมื่อแจกปัญหาสอบและใบค าตอบแล้ว ห้าม เปิดปัญหาสอบก่อนที่หัวหน้า คณะกรรมการจัดการสอบสั่ง (หากมีข้อสงสัยให้ยกมือถามกรรมการจัดการสอบ)  
๗.๕.๕ เมื่อเริ่มท าข้อสอบแล้วจะไม่อนุญาตให้ผู้มาสายเข้าห้องสอบทุกกรณี และผู้ที่ เข้าสอบจะต้องอยู่ในห้องสอบจนครบตามเวลาที่ก าหนด จะออกจากห้องสอบก่อนเวลาไม่ได้ 
๗.๕.๖ ห้าม นั่งผิดจากหมายเลขที่นั่งสอบของตนเองหรือลงหมายเลขประจ าตัวสอบที่ ไม่ใช่หมายเลขประจ าตัวของตนเองในใบค าตอบ (กรณีนี้ จะถือว่ามีเจตนาทุจริตในการสอบ)  
๗.๕.๗ ห้าม แสดงกิริยาที่อาจจะส่อไปในทางทุจริต ทุกกรณี 

๗.๖ เมื่อหมดเวลาสอบ
ให้วางเอกสารปัญหาสอบและกระดาษใบค าตอบไว้บนโต๊ะ ห้าม น าออกจากห้องสอบเป็นอันขาด (หากฝ่าฝืนจะถือว่ามีเจตนาทุจริตในการสอบ) 

ข้อ ๘. ก าหนดการประกาศผลสอบภาควิชาการ (รอบแรก) วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๕๐๐ โดยปิดประกาศ ณ ตึกกองบัญชาการ กรมการทหารสื่อสาร และเว็บไซต์กรมการทหารสื่อสาร http://signal.rta.mi.th หรือ กองก าลังพล กรมการทหารสื่อสาร http://202.44.55.31/

 ข้อ ๙. การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ ผู้ที่มีรายชื่อประกาศผลสอบผ่านภาควิชาการ (รอบแรก) เท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์สอบในรอบสอง โดยจะต้องเข้ารับการสอบให้ครบทุกขั้นตอน หากไม่ด าเนินการตามที่ก าหนดแล้วจะมีผลการสอบเป็น “ไม่ผ่านการสอบ”
 ๙.๑ การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๗๐๐ ถึง ๑๑๓๐ ณ โรงพลศึกษา กรมการทหารสื่อสาร การแต่งกาย ชุดกีฬา โดยมีท่าที่ใช้ในการทดสอบดังนี้

 - ท่าดันพื้น (ไม่ก าหนดเวลา) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒๒ ครั้ง)
 - ท่าลุกนั่ง (ภายใน ๒ นาที) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๓๔ ครั้ง) 
 - วิ่ง ๘๐๐ เมตร คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๓ นาที ๑๕ วินาที)  

คะแนนทดสอบทุกท่ารวมกันหากไม่ถึง ๗๐ % ถือว่าไม่ผ่านการสอบทั้งหมด ถึงแม้ผลการสอบ ภาควิชาการจะได้คะแนนดี


๙.๒ การสอบสัมภาษณ์ ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๘๓๐ - ๑๖๐๐ ณ โรงเรียนทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสาร เพื่อทดสอบ ด้านบุคลิกภาพ ทัศนคติ และไหวพริบ (การแต่งกาย ลักษณะท่าทาง ท่วงทีวาจา เชาว์ปัญญา) 

ข้อ ๑๐. การประกาศผลสอบเมื่อทดสอบแล้วเสร็จทุกขั้นตอน (ขั้นสุดท้าย)
 ๑๐.๑ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๕.๐๐ โดยปิดประกาศ ณ ตึกกองบัญชาการ กรมการทหารสื่อสาร และเว็บไซต์กรมการทหารสื่อสาร http://signal.rta.mi.th หรือ กองก าลังพล กรมการทหารสื่อสาร http://202.44.55.31/ 
๑๐.๒ ผู้ที่สอบได้คะแนนรวมสูงสุด (ภาควิชาการ) และผ่านเกณฑ์การทดสอบ (รอบสอง) ทุกขั้นตอน จะได้รับการประกาศรายชื่อเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม และบรรจุเป็นนายทหารประทวน อัตรา สิบเอก รับเงินเดือน ป.๑ ชั้น ๑๕.๕ จ านวน ๓๐ นาย และจะประกาศบุคคลส ารองไว้อีก จ านวน ๑๐ นาย 
๑๐.๓ กรณีมีผลการสอบ “คะแนนรวมเท่ากัน” คณะกรรมการด าเนินงาน จะพิจารณา คะแนน วิชาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และความรู้ทั่วไป ตามลำดับ 

ข้อ ๑๑. การดำเนินการเมื่อประกาศผลสอบ ๑๑.๑ เมื่อประกาศผลสอบรอบแรกแล้ว หากผู้สมัครสอบไม่เข้ารับการทดสอบในรอบต่อไป ถือว่าสละสิทธิ์การสอบ ๑๑.๒ เมื่อประกาศผลสอบรอบสุดท้ายแล้ว หากผู้สมัครสอบไม่มารายงานตัวตามวันเวลาที่ กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์การบรรจุเข้ารับราชการ และจะเรียกล าดับต่อไปเข้ามารายงานตัวเพื่อบรรจุ เข้ารับราชการแทน ๑๑.๓ บุคคลอะไหล่ ควรติดต่อแจ้งยืนยันรับทราบผลการจัดล าดับการสอบไว้ด้วย กรณีหากมี บุคคลตัวจริงสละสิทธิ์จะได้แจ้งให้มารายงานตัวเพื่อบรรจุทดแทนทันที 

ข้อ ๑๒. การรายงานตัวและท าสัญญา - รายงานตัวและท าสัญญา ณ หมวด ๔ กองบริการ กรมการทหารสื่อสาร วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๘๓๐ - ผู้ที่ไม่มารายงานตัวในวันเวลาที่ก าหนด ถือว่าสละสิทธิ์  

ข้อ ๑๓. การค้ าประกัน - ผู้ค้ าประกัน จะต้องเป็นข้าราชการประจ า ระดับ ๓ ขึ้นไป หรือเป็นข้าราชการทหาร ตำรวจ ประจำการ ชั้นยศ ตั้งแต่ ร้อยตรี , เรือตรี , เรืออากาศตรี หรือ ร้อยต ารวจตรี ขึ้นไป - อายุของผู้ค้ าประกัน ต้องไม่เกิน ๕๘ ปี (นับตามปี พ.ศ.เกิด) - ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง และผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น ไม่สามารถ ค้ าประกันได


 คำแนะนำ
เพิ่มเติมและข้อพึงระมัดระวัง ผู้สมัครสอบต้องอ่านค าแนะน าให้เข้าใจ ซึ่งจะช่วยในการเตรียมการให้แก่ท่านมิให้เสียสิทธิ์ ในการสมัครสอบ 
๑. เอกสารที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการ “ให้รีบติดต่อด าเนินการแต่เนิ่น” - หนังสือรับรองผู้บังคับบัญชาจากหน่วยต้นสังกัด (ผู้ที่รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี และมีหนังสือรับรองผู้บังคับบัญชา จะได้รับขั้นเพิ่ม ในการบรรจุเข้ารับราชการ จ านวน ๐.๕ ขั้น (ระดับ ป.๑ ชั้น ๑๔)) 

๒. การไปติดต่อสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย มิฉะนั้น จะไม่พิจารณารับสมัคร สอบหรือไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ (งดเว้น การสวมรองเท้าแตะ, เสื้อยืดคอกลม, กางเกงยีนส์)

 ๓. อย่าใช้เอกสารหรือหลักฐานเท็จ ถ้าตรวจสอบพบจะต้องถูกด าเนินคดีอาญาจนถึงที่สุด 

๔. คณะกรรมการจะรับไว้เฉพาะเอกสารสำเนาเท่านั้น (แต่จะขอตรวจเอกสารฉบับจริง ประกอบการรับสมัคร) 

๕. บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ จะต้องนำไปแสดงต่อกรรมการทุกขั้นตอนที่มีการสอบ

 ๖. ควรเตรียมเวลาที่ใช้ในการสอบและส ารวจสถานที่สอบ เนื่องจาก กรมการทหารสื่อสาร มีที่ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ซึ่งต้องเผื่อเวลาไว้แต่เนิ่น เพราะความไม่คุ้นเคยสถานที่ ตลอดจนสภาพ การจราจรที่หนาแน่น 

๗. การดำเนินการสอบ เป็นการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการของ กรมการทหารสื่อสาร ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบการด าเนินงานซึ่งกันและกัน ดังนั้น อย่าหลงเชื่อค าแอบอ้างใด ๆ ว่าจะมีผู้ช่วย เหลือในการสอบ และหากมีผู้แอบอ้างดังกล่าว สามารถร้องเรียนมาที่ กองกำลังพล กรมการ ทหารสื่อสาร หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๒๒๙๗-๕๔๙๐ และ ๐-๒๒๙๗-๖๑๐๒ ได้ในเวลาราชการ








ข้อความตัวอักษรวิ่ง

 กรมการทหารสื่อสาร เปิดรับสมัครบุคคลพลเรือนชาย หรือทหารกองหนุน คุณวุฒิ วิชาชีพเฉพาะ เข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวน (อัตรา สิบเอก) ส าเร็จการศึกษาคุณวุฒิ ปวช. สาขาวิชา ช่างไฟฟ้า , ช่างไฟฟ้าก าลัง , ช่างอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี อายุ ๑๘ - ๒๕ ปี รับจ านวน ๓๐ อัตรา สามารถดูรายละเอียดการรับสมัครเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://signal.rta.mi.th หรือ http://202.44.55.31 

ความคิดเห็น